วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
18 กันยายน 2566

0


วิสัยทัศน์ ( Vision )

ชุมชนเข้มแข็ง  เมืองน่าอยู่   ประชาชนมีความรู้คู่คุณธรรม”

 
 พันธกิจ ( Mission )
        1) จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำ
        2) จัดให้มีน้ำอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร
        3) จัดให้มีการบำรุงส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
        4) จัดให้มีการส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและการกีฬา
        5) จัดให้มีการป้องกันปัญหายาเสพติด ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
        6) ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
        7) จัดให้มีการคุ้มครองดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        8) จัดให้มีการบริหารจัดการองค์กรและบริการประชาชนที่ดี

ยุทธศาสตร์การพัฒนา และแนวทางการพัฒนา
ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
        ๑) พัฒนาเส้นทางคมนาคมและการจราจร
        ๒) พัฒนาด้านระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการอย่างทั่วถึง
ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
        ๑) พัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน
        ๒) พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
        ๓) ส่งเสริมสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียง
        ๔) การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
ด้านการพัฒนาการส่งเสริมการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
        ๑) ส่งเสริมการจัดการศึกษาของประชาชนทุกระดับ
        ๒) ส่งเสริม ทำนุบำรุงศาสนา วัฒนธรรมประเพณี อันดีงามของชาติและของท้องถิ่น
        ๓) สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมแก่เยาวชน/ประชาชนให้มีคุณธรรม จริยธรรม เอื้ออาทรต่อผู้อื่น
ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
        ๑) การป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
        ๒) การจัดสวัสดิการสังคม และนันทนาการแก่ประชาชน
        ๓) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
        ๔) การรักษาความสงบเรียบร้อย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
        ๑) สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
        ๒) สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการดูแล และพัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชน
        ๓) ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ
ด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
        ๑) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น
        ๒) พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร ให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
        ๓) พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ และประสิทธิภาพ
        ๔) พัฒนาขีดความสามารถขององค์กร ให้บริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ

กรอบยุทธศาสตร์และแนวทางพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ลำดับที่

  ยุทธศาสตร์การพัฒนา

แนวทางการพัฒนา

     ๑.

 

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

 

๑.   พัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งให้ได้มาตรฐาน และเชื่อมโยง
๒.  การสาธารณูปโภค  
๓.   การจัดระบบผังเมือง 
     ๒.

ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ

๑.  การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง
๒.  ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาภาคการเกษตร
๓.  ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
๔.  พัฒนาและส่งเสริมอาชีพ การลงทุน และการพาณิชกรรม

     ๓.

 

 

 

ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต

 

 

 

๑.  ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา
๒.  ส่งเสริมและพัฒนาด้านการศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
๓.  สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมแก่เยาวชนให้มีคุณธรรม จริยธรรม
อาทรต่อผู้อื่น 
๔.  การส่งเสริมกีฬาและนันทนาการ 
๕.  ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพอนามัยและสังคมสงเคราะห์
๖.  การจัดระเบียบสังคมและชุมชน

     ๔.

ด้านการส่งเสริม และพัฒนาการท่องเที่ยว

๑.  พัฒนา ปรับปรุง  แหล่งท่องเที่ยว
๒.  ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว
๓.  พัฒนายกระดับมาตรฐานการบริการและความปลอดภัย

     ๕.

ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

๑.  ส่งเสริม บำบัด  ฟื้นฟู  และสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการ       
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม
๒.  พัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชน
๓.  ส่งเสริมการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการด้านทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม

    ๖.

ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการ
บริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี

๑.  พัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
๒.  พัฒนาโครงสร้างองค์กรให้ทันสมัย
๓.  พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ
๔.  พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กร

 วิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี
แผนพัฒนาอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ๒๕๕๓-๒๕๕๖ ได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ไว้ว่า “เป็นเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่การท่องเที่ยว การเกษตรครบวงจร มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดี ผู้คนมีคุณภาพและชุมชนเข้มแข็ง” และกำหนดพันธกิจไว้ ๗ ด้าน ดังนี้
        ๑. ดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความรู้ และส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกร
        ๒. ดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
        ๓. ดำเนินการพัฒนาส่งเสริมทักษะบุคลากร ในการให้บริการด้านการท่องเที่ยว
        ๔. การรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
        ๕. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภค
        ๖. ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย และความสมานฉันท์
        ๗. อำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ
 

ลำดับที่

ยุทธศาสตร์การพัฒนา

แนวทางการพัฒนา

  ๑.

 

การส่งเสริมการเกษตรครบวงจร ๑.  การผลิตสินค้าการเกษตรและอาหารมีคุณภาพ ได้มาตรฐานตาม       ระบบความปลอดภัย
๒.  สินค้าเกษตรที่สำคัญมีการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่า
๓.  เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรมีความเข้มแข็งและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

     ๒. การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
เชิงนิเวศน์

 

๑.  แหล่งท่องเที่ยวในบางได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของ
ชาวไทยและชาวต่างประเทศ

 

 

     ๓. การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ๑.  หมู่บ้านมีการดำเนินกิจกรรม วิถีประชาธิปไตย
๒.  หมู่บ้าน/ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมทางการเมือง
๓.  หมู่บ้านมีแผนชุมชนที่มีคุณภาพ
๔.  มีกลุ่ม องค์กรต่าง ๆ ที่เข้มแข็ง

 

 ๔.

การพัฒนาเส้นทางคมนาคม
โครงสร้างพื้นฐาน

๑.  มีระบบการขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพสามารถ      
เชื่อมโยงและรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

     ๕.

การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และส่องแวดล้อม

๑. หมู่บ้าน/ชุมชนมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี

    ๖.

การรักษาความสงบเรียบร้อยและ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

๑.  ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

นโยบายการทำงานของคณะผู้บริหาร

          ตามที่ทางคณะกรรมการเลือกตั้งได้มีประกาศให้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ยใหม่ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๕๖ และคณะกรรมการเลือกตั้ง ได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ยเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๖ นั้น
          บัดนี้ กระผมและคณะผู้บริหารได้กำหนดนโยบายการบริหารราชการ โดยยึดมั่นในการปกครองระบบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และขอนำเรียนท่านประธานสภาฯ และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ยผู้ทรงเกียรติทุกท่าน ได้รับทราบถึงเจตนารมณ์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลมะขามเตี้ย ที่มุ่งมั่นจะสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงในการพัฒนาตำบลมะขามเตี้ยเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนของตำบลมะขามเตี้ยทุกคน และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อสร้าง “ชุมชนเข้มแข็ง คุณภาพชีวิตที่ดี แบบเศรษฐกิจพอเพียง” ใช้นโยบายเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และจะสารต่อในงานหรือนโยบายที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชนมะขามเตี้ย

          เพื่อให้การบริหารราชการบรรลุถึงเป้าหมายตามวิสัยทัศน์สู่การพัฒนาตำบลมะขามเตี้ย ให้ก้าวหน้าอีกระดับหนึ่ง จึงได้กำหนดนโยบายราชการออกเป็น ๕ ด้านใหญ่ๆ ประกอบด้วย
       ๑. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน
       ๒. นโยบายด้านเศรษฐกิจ
       ๓. นโยบายด้านการพัฒนาสังคม
       ๔. นโยบายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       ๕. นโยบายด้านการเมืองการบริหาร

                  ๑. นโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน
                    ๑.๑ ประสานงานและสนับสนุนการก่อสร้างปรับปรุงเส้นทางการคมนาคม ที่ได้มาตรฐานอย่างเพียงพอและทั่วถึง เพื่ออำนวยความสะดวกในการคมนาคมและ การขนส่ง
                    ๑.๒ จัดให้มีการบำรุงรักษา สิ่งก่อสร้างทางบกและทางระบายน้ำให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้เป็นปกติ
                    ๑.๓ จัดให้มีการขยายเขตและบำรุงรักษา ไฟฟ้าแสงสว่างตามท้องถนนอย่างทั่วถึงเพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุตามท้องถนน รวมจนถนนปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                    ๑.๔ จัดให้มีน้ำที่สะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยการขยายขอบเขตประปาภูมิภ่คให้ทั่วถึงทุกครัวเรือน รวมถึงน้ำด้านการเกษตร
                    ๑.๕ พัฒนาด้านระบบการจราจรที่ดีมีมาตรฐาน
                    ๑.๖ จัดให้มีการระบายน้ำที่มีมาตรฐานอย่างเป็นระบบ
                    ๑.๗ จัดให้มีสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้าน 
                    ๑.๘ ซ่อมแซม บำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ที่มีอยู่เดิมให้พร้อมบริการประชาชนอย่างทั่วถึงตลอดเวลา
                    ๑.๙ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อจัดให้มีด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมอย่างเพียงพอและทั่วถึง

                  ๒. นโยบายด้านเศรษฐกิจ
                    ๒.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชน ใช้ชีวิตแบบพอเพียง
                    ๒.๒ สนับสนุนกองทุนชุมชน กลุ่มอาชีพชุมชนต่างๆ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านการเงิน และการประกอบอาชีพ โดยการรวมตัวของกลุ่มอาชีพใยชุมชน
                    ๒.๓ ส่งเสริมสินค้าที่ผลิตจากชุมชน กลุ่มอาชีพในชุมชน และสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น
                    ๒.๔ ส่งเสริมการฝึกอาชีพ และพัฒนาฝีมือแรงงาน ของเยาวชนและประชาชนให้มีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต
        

                  ๓. นโยบายด้านการพัฒนาสังคม
                    ๓.๑ ส่งเสริมการสนับสนุนการศึกษาแก่เด็ก เยาวชน ประชาชน ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน และดำเนินด้านการศึกษาให้สอดคล้องตามนโยบายการศึกษาแห่งชาติ
                    ๓.๒ ส่งเสริมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน
                    ๓.๓ ส่งเสริมสนับสนุน ศาสนา ประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้คงอยู่สืบไป
                    ๓.๔ ให้การสงเคราะห์และจัดสวัสดิการแก่เด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส
                    ๓.๕  ส่งเสริมสนับสนุนการป้องกันการก่ออาชญากรรมและปราบปรามยาเสพติด
                    ๓.๖  ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
                    ๓.๗  ส่งเสริมการบริการด้านสาธารณสุข การรักษาพยาบาลอย่างเพียงพอทั่วถึง
                    ๓.๘  ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแล ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                    ๓.๙  ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมนันทนาการ ด้านการกีฬา เพื่อพัฒนาคนและสังคม

                  ๔.  นโยบายด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    ๔.๑  สร้างจิตสำนึกและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน มนการอนุรักษ์คุ้มครองดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    ๔.๒  รณรงค์ปลูกจิตสำนึกในการกำจัดขยะมูลฝอย จัดให้มีภาชนะและระบบการกำจัดให้ดีมีมาตรฐาน

                  ๕.  นโยบายการเมืองการบริการ
                    ๕.๑  ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง โดยการร่วมคิด รวมทำ ร่วมตรวจสอบติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้การบริหารและพัฒนาบ้านเมืองมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้
                    ๕.๒  สร้างระบบการบริหารโดยการเน้นหลัก การมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้
                    ๕.๓  ส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน ตัวแทนชุมชน ผู้นำชุมชน องค์กรเอกชน  เข้ามามีส่วนร่วมกำหนดวิสัยทัศน์  ยุทธศาสตร์จัดทำแผน โครงการในการพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน
                    ๕.๔  การพัฒนาบุคลากร เจ้าหน้ามี่ในหน่วยงานเพื่อให้มีความรู้ทักษะ ในการปฏิบัติงานสนองความต้องการของประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    ๕.๕  ส่งเสริมให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม บทบาทหน้าที่ของประชาชน ที่มีต่อการบริหารบ้านเมืองและอำนาจ ในการตรวจสอบตามหลักรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
                    ๕.๖  จัดโครงการ อบต.เคลื่อนที่ เพื่อจัดบริการด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน และได้รับฟังปัญหา หรือความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง
                    ๕.๗  จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น